ความหมาย
วิธีสอนแบบสาธิต หมายถึง วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนในการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมบ้าง ดีกว่าที่ครูไปอธิบายเพียงปากเปล่าอย่างเดียว(สุพิน บุญชูวงศ์ .2530:56)



ความมุ่งหมาย
1.เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น
2.เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาที่ยาก ซึ้งต้องใช้เวลามาก ให้เข้าใจมากขึ้นและประหยัดเวลา การสาธิตจะทำให้นักเรียนได้เห็นขั้นตอนและจะทำให้เข้าใจมากขึ้น
3.เพื่อพัฒนาการฟังและสรุปเนื้อหาในการสอนโดยวิธีสาธิต และสังเกตขั้นตอนต่างๆ แล้วสรุปผลของการสาธิตนั้น
4.เพื่อแสดงวิธีการปฎิบัติงาน ซึ้งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด
5.เพื่อสรุปการประเมินผลความเข้าใจในบทเรียน
6. เพื่อใช้ทบทวนบทเรียน



ขั้นตอนในการสอน
ขั้นตอนที่ 1.กำหนดจุดหมายของการสาธิตให้ชัดเจน และต้องสาธิตให้เหมาะสมกับเนื้อหาด้วย
ขั้นตอนที่ 2.เตรียมอุปกรณ์ในการสาธิตให้พร้อม และตรวจสอบความสมบรูณ์ของอุปกรณ์
ขั้นตอนที่ 3.เตรียมกระบวนการสาธิต เช่น กำหนดเวลาและขั้นตอน จะเริ่มดำเนินการ และจบลงอย่างไร ผู้สาธิต
ต้องเข้าใจในขั้นตอนต่างๆเหล่านี้อย่างละเอียดแจ่มแจ้งด้วย
ขั้นตอนที่ 4.ทดลองสาธิตก่อนสอน ควรทดลองเพื่อตรวจสอบความพร้อมตลอดจนผลที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในเวลาสอน
ขั้นตอนที่ 5.ต้องจัดทำคู่มือคำแนะนำหรือข้อสังเกตในการสาธิต เพื่อที่นักเรียนจะได้ใช้ประกอบในขณะที่มีการสาธิต
ขั้นตอนที่ 6.เมื่อการสาธิตเสร็จสิ้นแล้ว นักเรียนควรได้ทำการสาธิตซ้ำอีก เพื่อเน้นให้เกิดความสนใจดีขึ้น
ขั้นตอนที่ 7.จัดเตรียมกิจกรรมหลังจากการสาธิตเพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการสาธิตนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 8.ประเมินผลการสาธิต โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของนักเรียนและผลของการเรียนรู้ การประเมินผลควรมีกิจกรรมหรือเครื่องมือ เช่น การทดสอบ การให้แสดงความคิดเห็น หรือการอภิปรายประกอบ
 
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1.ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์และความเกี่ยวข้องกันของเนื้อหาอย่างชัดเจน
2.ทำให้นักเรียนมีความคงทนมากขึ้น
3.เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมในแต่ล่ะวัน
4.เป็นเครื่องช่วยวัดจุดสำคัญของบทเรียน
5.เป็นการเชื่อมโยงเนื้อหาให้เกิดขึ้นในจิตใจของนักเรียน
6.ทำให้นักเรียนตระหนักถึงความต้องการที่จะต้องศึกษามากขึ้น



ข้อจำกัด
1.เป็นการยากที่จะทำให้นักเรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมได้
2.ครูต้องชำนาญในการใช้เทคนิคหลายๆอย่าง
3. ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธิตเท่าที่จะทำได้
4.การสาธิตที่ติดขัด บกพร่อง จะไม่เป็นผลดีโดยตรงต่อการเรียนการสอน






บรรณานุกรม
สุพิน บุญชูวงศ์.(2538).หลักการสอน.กรุงเทพ: (ม.ป.ป)
อินทิรา บุณยาทร.(2542).หลักการสอน.กรุงเทพ .โปรแกรมวิชาการปฐมศึกษา คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฎสมเด็จเจ้าพระยา.
ชัยรัตน์ บุมี.(ม.ป.ป.).เอกสารประกอบการสอนวิชา พฤติกรรมการสอนวิชาคอมพิวเตอร์.กำแพงเพชร:โปรแกรมคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
พรรณี   ชูทัย   เจนจิต . ๒๕๓๘ . จิตวิทยาการเรียนการสอน.  พิมพ์ครั้งที่  ๔ ; กรุงเทพ , บริษัทคอมแพคท์พริ้นท์จำกัด.