วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคจัดการเรียนรู้

วิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคจัดการเรียนรู้

      การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ
1. การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method)
2. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)
3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
4. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)
5. การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Method)
6. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
7. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
8. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)
9. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
10. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสุ่ม (Group Process)
11. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT (Team Games Tournaments)
13. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions)
14. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค JIGSAW
15. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)
16. การจัดการเรียนรู้แบบ STORYLINE
17. การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (Concentrated Language Encounters)
18. การจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะ (Direct Instruction)
19. การจัดการเรียนรู้แบบ SQ 3R





การเรียนรู้โดยแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
20. การจัดการเรียนรู้แบบเอกัตภาพ (Individualized Instruction)
21. การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)
22. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโปรแกรม(Programmed Instruction)
23. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโมดูล (Instructional Module)
24. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
25. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
26. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Method)
27. การจัดการเรียนรู้โดยการไปทัศนศึกษา (Field Trip)
28. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ


การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
29. การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
30. การจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
31. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ค่านิยมให้กระจ่าง
32. การจัดการเรียนรู้แบบเบญจขันธ์
33. การจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ
34. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างนิสัย
35. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรม
36. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
37. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์
38. การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทาน
39. การจัดการเรียนรู้แบบซักค้าน



 การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
40. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method)
41. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)
42. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
43. การจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
44. การจัดการเรียนรู้แบบทดลอง (Experimental Method)
45. การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา (Problem Solving Method)
46. การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาโดยใช้สาระสนเทศ (Information Problem-Solving Approach)
47. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Question Method)
48. การจัดการเรียนรู้แบบ KWL (Know-Want-Learned)
49. การจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case Study Method)
50. การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ (Creative Teaching)
51. การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง (Brainstroming Method)
52. การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ (Synectics Method)
53. การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism)
54. การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
55. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม (Groub Investigation Method)
56. การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT
57. การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping Techinique)
58. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังความรู้แบบวี (Knowledge Vee Diagramming)
59. การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี (Wannee Teaching Model)
60. การจัดการเรียนรู้แบบการพยากรณ์ (Forecast or Prediction Method)
61. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี / สิ่งพิมพ์
62. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งวิทยากรในชุมชน
63. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบเรียนสำเร็จรูป
64. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
65. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
66. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน
67. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท
68. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก
69. การจัดการเรียนรู้โดยการตัดสินใจอย่างฉลาด
70. การจัดการเรียนรู้โดยการสร้างแผนผังความคิด
71. การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา






เทคนิคการจัดการเรียนรู้
72. เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)
73. เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share)
74. เทคนิคคู่คิดสี่สหาย (Think-Pair-Share)
75. เทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pair Check)
76. เทคนิคเล่าเรื่องราว (Roundrobin)
77. เทคนิคโต๊ะกลม (Roundtable)
78. เทคนิคการเรียนร่วมกัน (Learning Together)
79. เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered Heads Together)
80. เทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI : Groop Investigation)
81. เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT : Team Games Tournament)
82. เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ (STAD : Student Teams Achievement Division)
83. เทคนิคการสัมภาษณ์ 3 ขั้นตอน (Three Step Interview)
84. เทคนิคช่วยกันคิดช่วยการเรียน (TAI : Team Assited Individualization)
85. เทคนิคการเรียนรู้แบบวิธีการติดต่อภาพ รูปแบบที่1 (Jigsaw 1)
86. เทคนิคการเรียนรู้แบบวิธีการติดต่อภาพ รูปแบบที่2 (Jigsaw 2)
87. เทคนิคการเรียนรู้แบบ CO-OP CO-OP








ที่มา




    สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. 19 วิธีการจัดการเรียนรู้:
             เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์.


    สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. 20 วิธีการจัดการเรียนรู้:
             เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์.

    สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. 21 วิธีการจัดการเรียนรู้:
            เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์.


    ประกาศิต อานุภาพแสนยากร.(2559). เอกสารคำสอน รายวิชา การจัดการเรียนรู้
            คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2559.




วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม ( Humanism )


            ทิศนา  แขมมณี (2553:68) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ นักจิตวิทยาคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ ( Maslow) รอเจอร์ส ( Rogers) โคมส์ ( Combs) โนลส์ ( Knowles) แฟร์ ( Faire) อิลลิช ( Illich) และนีล ( Neil)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow, 1962 )
                ทฤษฎีการเรียนรู้
                1.มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้นตอน คือ ขั้นความต้องการทางร่างกาย (physical need) ขั้นความต้องการความมั่นคง ปลอดภัย ( safety need) ขั้นความต้องการความรัก ( love need) ขั้นความต้องการยอมรับและการยกย่องจากสังคม (esteem need) และขั้นความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ (self - actualization) หากความต้องการขั้นพื้นฐานได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียงสำหรับตนในแต่ละขั้น มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น
                2.มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเองประสบการณ์ที่เรียกว่า“peak experience” เป็นประสบการณ์ของบุคคลที่อยู่ในภาวะดื่มด่ำจากการรู้จักตนเองตรงตามสภาพความเป็นจริง มีลักษณะน่าตื่นเต้น เป็นความรู้สึกปีติ เป็นช่วงเวลาที่บุคคลเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถ่องแท้ เป็นสภาพที่สมบูรณ์ มีลักษณะผสมผสานกลมกลืน เป็นช่วงเวลาแห่งการรู้จักตนเองอย่างแท้จริง บุคคลมีประสบการณ์เช่นนี้บ่อยๆจะสามารถพัฒนาตนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส ( Rogers, 1969)
                ทฤษฎีการเรียนรู้
                มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรบากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้ (supportive atmosphere) และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered teaching) โดยครูใช้วิธีการสอนแบบชี้แนะ (non-directive) และทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน (facilitator) และการเรียนรู้ จะเน้นกระบวนการ (process learning) เป็นสำคัญ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ (Combs)
                ความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผุ้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ โนลส์ (Knowles)
                1.ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                2.การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน อยู่ในความควบคุมของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนจะนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะและค่านิยมต่างๆเข้ามาสู่การเรียนรู้ของตนเอง
                3.มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีหากมีอิสระที่จะเรียนในสิ่งที่ตนต้องการและด้วยวิธีการที่ตนพอใจ
                4.มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน ความเป็นเอกัตบุคคลเป็นสิ่งที่มีคุณค่า มนุษย์ควรได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาความเป็นเอกัตบุคคลของตน
                5.มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพที่จะตัดสินใจ และเลือกกระทำสิ่งต่างๆตามที่ตนพอใจ และรับผิดชอบในผลของการกระทำนั้น
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ (Faire)
                เปาโล  แฟร์ (Faire) เชื่อในทฤษฎีของผู้ถูกกดขี่ (pedagogy of the oppressed) เขากล่าวว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช (Illich)
                อิวาน อิลิช (Ivan Illich) ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการล้มเลิกระบบโรงเรียน (deschooling) ไว้ว่า สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล (Neil)
                นีล (Neil) กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ไปด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพมนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งตอตนเองและสังคม




             (http://www.novabizz.com/Learning_Cognitive.htm ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี  2  ทฤษฏีและ 5 แนวคิด  คือ
-   ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน  และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง  ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
 -   ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ  การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ  ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น  ปลอดภัย  ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
 -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์  เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
 -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์  เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง    หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง  ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
-   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า  ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
 -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน  การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
 -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้  คือ  การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ

           
          
                (http://www.gotoknow.org/blog/panjanee-2209)  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏี คือ
 - ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง Maslow’s Hierachy of Needs Abraham Maslow อธิบายว่าความต้องการที่ทำให้มนุษย์เกิดแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมว่าแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ความต้องการที่จำเป็นในการที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งต้องได้รับการตอบสนองก่อนจึงจะมีแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมเพื่อความต้องการอื่น ความต้องการระดับนี้ ถือเป็นความต้องการระดับต่ำ ประกอบด้วย
1. ความต้องการทางกายได้แก่ ต้องการอาหาร น้ำ อากาศ ฯลฯ
2. ความต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการการยอมรับเป็นสมาชิกของกลุ่มและความรัก
 4. ความต้องการความนิยมนับถือ เกียรติยศชื่อเสียง อีกระดับหนึ่งเป็นความต้องการระดับสูง คือความต้องการที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ความเจริญแห่งตน ประกอบด้วย
  5. ความต้องการรู้และเข้าใจ
  6. ความต้องการสุนทรีย์ (ซาบซึ้งในศิลปะและดนตรี
  7. ความต้องการที่จะทำในสิ่งที่ตนมีศักยภาพอย่างเต็มที่ (ต้องการทำสิ่งต่าง ๆ ให้เต็มศักยภาพของตน) มนุษย์ต้องได้รับการตอบสนองในแต่ละขั้นตั้งแต่ขั้นแรกก่อนจะมีแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในขั้นต่อไป เช่น อิ่มก่อนจึงจะแสวงหาความปลอดภัย แล้วจึงทำพฤติกรรมเพื่อให้ได้รับความรัก เมื่อได้แล้วจึงแสวงหาเกียรติยศชื่อเสียงต่อไป เมื่อความต้องการในระดับต่ำนี้ลดลง (ได้รับแล้ว) แรงจูงใจในการทำพฤติกรรมเพื่อสนองความต้องการระดับสูงจึงเกิดขึ้น คือแสวงหาความรู้ความเข้าใจ สุนทรีย์ทางศิลปและดนตรี แล้วจึงทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพัฒนาตนเองให้เต็มความศักยภาพที่มีอยู่ 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow) แนวความคิดที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน ในเรื่องความต้องการ (Need) ของมนุษย์ ถ้าเรามีความเข้าใจเรื่องความต้องการของมนุษย์แล้ว เราจะสามารถเข้าใจ พื้นฐานพฤติกรรมของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น ความต้องการของมนุษย์ตามแนวความคิดของมาสโลว์ (Maslow) มาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้ The five needs
 ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
 ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขั้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้ มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง 100% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป


สรุป
           ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม กลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์





อ้างอิง
            ทิศนา  แขมมณี (2553) .ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ

            http://www.novabizz.com/Learning_Cognitive.htm. [ออนไลน์]  เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2561.

            http://www.gotoknow.org/blog/panjanee-2209. [ออนไลน์]  เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2561.

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)



ทิศนา แขมมณี (2550 : 50 - 76) กล่าวไว้ว่า  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมไว้ว่า  กลุ่มพุทธินิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้ เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ทฤษฎีกลุ่มนี้ที่สำคัญมี 5 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเกสตัสท์ (Gestalt Theory) ทฤษฎีสนาม (Field Theory)ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)
1. ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt  Theory)  แนวความคิดหลักของทฤษฏีนี้คือ ส่วนร่วมมิใช่เป็นเพียงผลรวมของส่วนย่อย ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย  การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิดจาประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้ (Perception) การรับรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสรับสิ่งเร้าแล้วถ่ายโยงเข้าสู่สมองเพื่อผ่านเข้าสู่กระบวนการคิด
2. การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการค้นพบหรือการเกิดความเข้าใจในช่องทางแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที
2 ทฤษฎีสนาม (Field Theory) เคร์ทเลวิน  (Kurt Lewin) เป็นผู้ริเริ่มทฤษฏีนี้ คำว่า “field” มาจากแนวคิดเรื่อง "field of force"  พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตนจะมีพลังเป็น + สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจ จะมีพลังงานเป็น – ในขณะหนึ่งคนทุกคนจะมี “โลก” หรือ “อวกาศ” ของตน การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ทอลแมน (Tolman) กล่าวว่า “การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง” ในการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล และในขณะที่ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการผู้เรียนรู้จะเกิดการเรียนรู้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ สถานที่ และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางตามไปด้วย
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Humanism)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กกว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่เร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามเพียเจย์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์  บรุนเนอร์(Bruner)เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง(discovery learning)แนวคิดที่สำคัญๆของบรุนเนอร์มีดังนี้(Brunner,1963:1-54)การจัดโครงสร้างของความรูให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ การคิดแบบหยั่งรู้(intuition)เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of  Meaningful Verbal Learning) ของเดวิด ออซูเบล(David Ausubel) ออซูเบลเชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน(Ausubel,1963:77-97) การนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์หรือกรอบความคิด (Advance Organizer) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย




สยุมพร ศรีมุงคุณ ( https://www.gotoknow.org/posts/341272  ). ได้กล่าวว่า  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ   
-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้ 
 -   ทฤษฎีสนาม (Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 
 -   ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)  ของทอลแมน ( Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย 
 -   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน 

 -   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย 



ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( https://www.l3nr.org/posts/386486  ). ได้กล่าวไว้ว่า  เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ 
-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
-   ทฤษฎีสนาม(Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
-   ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
-   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง 
 -   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย 




สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด การเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความ สัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง มนุษย์ เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง  


อ้างอิง
                ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ด่านสุทธาการพิมพ์ : กรุงเทพฯ

                สยุมพร ศรีมุงคุณ.   https://www.gotoknow.org/posts/341272 . [ออนไลน์]  เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561.

                ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.   https://www.l3nr.org/posts/386486 . [ออนไลน์]  เข้าถึงเมื่อวันที่18 กรกฎาคม 2561.

                

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)




ทิศนา แขมมณี (2550 : 50 - 76). กล่าวไว้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว (neutral - passive) การกระทำต่าง ๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus - response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด คือ
1.1 ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Classical Connectionism) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูก (trial and error) ปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสม
1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) 
            ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ (
Pavlov) พาฟลอฟ (Pavlov) ได้ทำการทดลองให้สุนัขน้ำลายไหลด้วยเสียงกระดิ่ง โดยธรรมชาติแล้วสุนัขจะไม่มีน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง แต่พาฟลอฟได้นำเอาผงเนื้อบดมาเป็นสิ่งเร้าคู่กับเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดถือว่าเป็นสิ่งเร้าตามธรรมชาติ (unconditioned stimulus) ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้ เขาใช้สิ่งเร้าทั้งสองคู่กันหลาย ๆ ครั้ง แล้วตัดสิ่งเร้าตามธรรมชาติออกเหลือแต่เสียงกระดิ่ง ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข ปรากฏว่าสุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งอย่างเดียว สรุปได้ว่าการเรียนรู้ของสุนัขเกิดจากการรู้จักเชื่อมโยงระหว่างเสียงกระดิ่ง ผงเนื้อบดและพฤติกรรมน้ำลายไหล
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน(Watson) วัตสัน (Watson) ได้ทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กก็จะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยแม่จะกอดเด็กไว้จากนั้นเด็กก็จะค่อยๆหายกลัวหนูขาว
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous Condition-ing) ของถัทธรี กัทธรี(Guthrieค.ศ. 1886-1959) ได้ทำการทดลองโดยปล่อยแมวที่หิวจัดเข้าไปในกล่องปัญหา มีเสาเล็กๆตรงกลาง มีกระจกที่ประตูทางออก มีปลาแซลมอนวางไว้นอกกล่อง เสาในกล่องเป็นกลไกเปิดประตู แมวบางตัวใช้แบบแผนการกระทำหลายแบบเพื่อจะออกจากกล่อง แมวบางตัวใช้วิธีเดียว กัทธรีอธิบายว่า แมวใช้การกระทำครั้งสุดท้ายที่ประสบผลสำเร็จเป็นแบบแผนยึดไว้สำหรับการแก้ปัญหาครั้งต่อไป และการเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียวก็นับได้ว่าเรียนรู้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก กฎการเรียนรู้ของกัทธรี สรุปได้ดังนี้(Hergenhahn and Olson,1993 : 202 – 222 อ้างถึงในทิศนา แขมมณี 2550 : 55 – 57)
1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) ฮัลล์ (Hull) ได้ทำการทดลองโดยฝึกหนูให้กดคาน โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มอดอาหาร 24 ชั่วโมงและแต่ละกลุ่มมีแบบแผนในการเสริมแรงแบบตายตัวต่างกัน บางกลุ่มกดคาน ครั้ง จึงได้อาหาร ไปจนถึงกลุ่มที่กด90 ครั้ง จึงได้อาหารและอีกพวกหนึ่งทดลองแบบเดียวกัน แต่อดอาหารเพียง ชั่วโมง ผลปรากฏว่ายิ่งอดอาหารมากคือมีแรงขับมาก จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มของนิสัย กล่าวคือจะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะรับสัมผัส (receptor) กับอวัยวะแสดงออก(effector)เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อหนูหิวมากจึงมีพฤติกรรมกดคานเร็วขึ้น




สยุมพร ศรีมุงคุณ ( https://www.gotoknow.org/posts/341272 ). ได้กล่าวว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี–ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   ”พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ 
 -   ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike) 
 มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุดเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว  บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง  มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ  การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  
 -   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้ 
 1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 
  2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ 
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก  
4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก  การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้ 
-   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม  ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด  การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน 



ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( https://www.l3nr.org/posts/386486). ได้กล่าวไว้ว่า   นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี – ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ  พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
-   ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike)มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด 
-   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้  1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน  3)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ    4)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล 
-   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย 



สรุป
                ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว การกระทำต่าง ๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อมความสามารถและ เวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถ ของผู้เรียนพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก 



อ้างอิง
                ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ด่านสุทธาการพิมพ์ : กรุงเทพฯ

                สยุมพร ศรีมุงคุณ.   https://www.gotoknow.org/posts/341272 [ออนไลน์]  เข้าถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2561.

                ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.   https://www.l3nr.org/posts/386486 [ออนไลน์]  เข้าถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2561.
                

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

              ลักขณา  สริวัฒน์  ( 2557 : 193-206 )  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperrative Learning    Theory ) ไว้ดัง...